รายละเอียดของป่า
ขันทองพยาบาท
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflorum (A.Juss.) Baill.
วงศ์ :
ประเภท : สมุนไพรและเครื่องเทศ
การใช้ประโยชน์ : บริโภคในครัวเรือน
แหล่งที่มา : ป่าชุมชนเขาอ้ายโป้ด ตำบลซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
ปริมาณต่อปี : 50 กิโลกรัม
ราคา/หน่วย (บาท) : -
แหล่งจำหน่าย : -
แหล่งที่มาข้อมูล : แบบสำรวจและแบบสอบถามของฝ่ายพัฒนาของป่า
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=180
วันที่เผยแพร่ : 12 พ.ค. 2565
ฤดูที่พบ :
เดือน :
ขันทองพยาบาท
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ดูกใส (อีสาน) ยางปลอก ยายปลวก ฮ่อสะพานควาย (แพร่ น่าน) ขันทองพยาบาท (ภาคกลาง) ดูกหิน (สระบุรี) ข้าวตาก (กาญจนบุรี) มะดูกเลื่อม (เหนือ) ขันทอง (พิษณุโลก) ขุนทอง (ประจวบคีรีขันธ์) กระดูก (ใต้) ป่าช้าหมอง ดูกไทร ขอบนางนั่ง สลอดน้ำ มะดูกดง ข้าวตาก ขนุนดง เจิง หมากดูก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้น ตรง กิ่งก้านอ่อน กิ่งห้อยลง กิ่งมีขนรูปดาว เปลือกต้นสีน้ำตาลแก่ ผิวบางเรียบ เนื้อไม้สีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 9-22 เซนติเมตร เนื้อใบหนาทึบ เหนียว หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบจักฟันเลื่อย ไม่มีขน มีต่อมใสๆ ขนาดเล็ก เส้นใบข้าง 5-9 คู่ ก้านใบยาว 2- 5 มิลลิเมตร ผิวใบด้านล่างมีต่อมสีเหลือง และมีขนรูปดาว หูใบขนาด 2 มม. แต่ละคู่เชื่อมกัน หลุดร่วงง่าย แต่ทิ้งแผลเป็นวงไว้ ดอก สีเขียวอมเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงซอกใบ ขนาด 0.8-1 ซม. กลิ่นหอม ช่อละ 5-10 ดอก อยู่ตรงกันข้ามกับใบ มีใบประดับยาว 1 มม. กว้าง 0.7-0.8 มม. รูปหอก ตรงปลายแหลม ดอกแยกเพศ แยกต้น ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ ขนาด 2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 35-60 อัน แต่ละอันมีต่อมที่ฐาน อาจพบเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันปะปนอยู่ด้วย ฐานรองดอกนูนพองออก ดอกเพศเมีย ลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่เหนือวงกลีบ มีขนหนาแน่น รังไข่มี 3 ช่อง ก้านเกสรตัวเมีย 3 อัน ปลายแยก รังไข่มีขนละเอียด มีหมอนรองดอก ก้านดอกยาว 5 มิลลิเมตร กลีบรองดอกมี 5 กลีบ หนา โคนเชื่อมกันเล็กน้อย ขอบจักเป็นซี่ฟัน ผลเกือบกลม ผิวเกลี้ยง ขนาด 2 เซนติเมตร ผล อ่อนสีเขียวเมื่อสุกมีสีเหลืองอมแสด แตกตามพู มี 3 พู มีติ่งเล็กๆที่ยอด เมล็ด ค่อนข้างกลม หนึ่งผลมี 3 เมล็ด ขนาด 7-8 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้ม มีเนื้อบางๆสีขาว (aril) หุ้มเมล็ด พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ติดผลเดือนเมษายนถึงมิถุนายน
สรรพคุณ ตำรายาไทย แก่น รสเฝื่อนเมา แก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน แก้ลมพิษ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด แก้กามโรค เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ แก้ประดงผื่นคัน แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน แก้ลมและโลหิตเป็นพิษ